ศาสตร์แห่งการฝังเข็มเป็นความสำเร็จของประชาชนจีนในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บมาเป็นเวลานานนับพันปี เป็นวิธีการรักษาโรคที่ได้ผ่านประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีเกียรติสืบทอดมาจนกระทั่งทุกวันนี้ และได้รับการยอมรับจากทั่วโลก พัฒนามาจากการบีบนวดตำแหน่งที่ไม่สบายค่อยๆปรับเปลี่ยนมาเป็นวิธีการแทงเข็มในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการรักษาโรคนั้นๆ

         การแทงเข็มเป็นการรักษาโรคโดยการใช้เข็มโลหะแทงตรงจุดที่แน่นอนบนร่างกายด้วยวิธีการกระตุ้นที่แตกต่างกันหลายวิธี เข็มที่ใช้ก็มีหลายขนาด หลายรูปร่างเช่น เข็มยาว เข็มสามเหลี่ยม เข็มดอกเหมย เข็มกด เข็มไฟฟ้า เป็นต้น โรคที่สามารถใช้วิธีการรักษาโดยการแทงเข็ม มีมากมายดังนี้

  1. โรคทางอายุรกรรม → ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ หอบหืด ตับและข้ออักเสบ โรคหัวใจ ความดัน
  2. โรคทางศัลยกรรม → ปวดเอว ปวดไหล่ ปวดศอก เยื่อเอ็นอักเสบ
  3. โรคทางสูติศาสตร์และนารีเวช → ประจำเดือนไม่ปกติ มดลูกเคลื่อน แพ้ท้อง ทารกในครรภ์ท่าผิดปกติ    คลอดช้า
  4. โรคเด็ก → ไอกรน ขาดอาหาร ลมชัก คางทูม โปลีโอ อัมพาตในเด็ก
  5. โรคของอวัยวะรับความรู้สึก → ตาแดง สายตาสั้น ประสาทตาเสื่อม
  6. โรคเกี่ยวกับกับประสาทและจิต → ปวดหัว อัมพาต ปวดประสาท
  7. โรคทางเดินปัสสวะอักเสบ และอวัยวะสืบพันธุ์ → ปัสสวะไหลไม่รู้ตัว
  8. ขอบเขตใหม่ของการรักษาโรคด้วยการแทงเข็ม คือการรักษาผู้ป่วยติดยา ติดบุหรี่ และติดเหล้า การแทงเข็มลดความอ้วน เสริมความงาม อีกทั้งยังสามารถปรับสมดุลย์ของร่างกาย ปรับจิตใจให้สงบ แจ่มใส
          ทำไมฝังเข็มถึงได้รักษาโรคได้โดยไม่มียาและไม่มีเลเซอร์เพราะศาสตร์นี้ใช้หลักธรรมชาติแบบตะวันออกมีเหตุมีผล มีอุปมาอุปไมย เปรียบเทียบสอดคล้องกับการรักษา ยกตัวอย่าง เช่น โรคภูมิแพ้ แพทย์จีนจะกำหนดว่าปอดมีความสัมพันธ์กับผิวหนัง, จมูก เพราะฉะนั้นคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ก็จะคันตา น้ำมูกไหล ผิวแห้งหยาบ แพ้สิ่งต่างๆ ก็จะแสดงออกที่ผิว หลักการรักษา ก็จะแทงจุด จิงลั่ว เป็นเส้นลมปราณ ที่มีความเชื่อมต่อกับเส้นลมปราณปอด และปอดก็จะเป็นศูนย์รวมพลังของร่างกาย จมูกเป็นรูทวารของปอด ถ้าปอดมีพลัง ภูมิแพ้ก็จะดีขึ้นถึงหายได้ และเมื่อหายแล้ว การฝังเข็มต่อไปอีกก็จะไปปรับสมดุลของร่างกาย เสริมสร้างสาร เอ็นโดฟิน (สารหลั่งความสุข) ทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส และสงบ สุขภาพแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง

         อีกหนึ่งตัวอย่าง ในการฝังเข็ม ช่วยลดอาการบาดเจ็บที่เรื้อรังได้ เช่น โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท สาเหตุ เกิดจากการ ยก หิ้ว ถือ แบก อุ้ม ดึง สะพาย กระชาก กระตุก ผิดท่า ทำให้เกิดอาการปวดหลังข้างใดข้างหนึ่ง จึงทำให้บริเวณกล้ามเนื้อส่วนนั้นมีการอักเสบ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธีก็จะทำให้เราเดินตัวเอียงและจะทำให้แนวกระดูกเอียงไปทับ เส้นประสาท อีกหนึ่งสาเหตุเกิดจากการทำงานที่ซ้ำซาก อยู่ในอิริยาบถนั้นนานๆ เกิดอาการชี่ติดขัดคือเลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก แนวกระดูกเคลื่อนตัวกดทับเส้นประสาท ทำให้ปลายขาชา และปวดร้าวถ้าเป็นหนักและนาน อาจจะทำให้กล้ามเนื้อขาลีบได้

         หลักการรักษาก็จะแทงเข็มจุดที่ปวดก่อนเพราะว่า ศาสตร์ว่าไว้ว่า(ถ้าเลือดลมเดินไม่สะดวกก็จะมีการปวด แต่ถ้าเลือดลมเดินสะดวกการปวดก็จะหาย ยืดเส้นเอ็น กระจายเลือดลม ปรับเส้นเอ็นผังผืด สลายเลือดคลั่ง จากนั้นก็จะทะลวงเส้นลมปราณและขับชื้น ขั้นตอนสุดท้ายคือ เสริมตับ บำรุงไต เพราะตับเกี่ยวข้องกับเส้นเอ็น ไตเกี่ยวข้องกับกระดูก เพราะฉะนั้นถ้าบำรุงตับไตก็เท่ากับเสริมเส้นเอ็นและกระดูก